โค้ดดิ้ง

สอนใช้งาน Laravel ฉบับมือใหม่ อัปเดทล่าสุด 2023

สำหรับวันนี้ผมก็จะมาสอนใช้งาน Laravel แบบจับมือทำทีละขั้นตอน สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มใช้งานแบบไม่เคยใช้มาก่อน~

ขั้นตอนแรก ให้สร้างโฟลเดอร์สำหรับเก็บไฟล์โปรเจคของเราขึ้นมาก่อน (เพื่อความเป็นระเบียบและเรียกใช้งานง่ายๆ)

จากนั้นคลิกขวาที่โฟล์เดอร์ที่เราจะติดตั้ง Laravel แล้วเลือก “แถบเทอร์มินัลใหม่ที่โฟลเดอร์”

จากนั้นให้พิมพ์โค้ดตามนี้ โดย example-app คือชื่อโฟลเดอร์โปรเจคของเรานั่นเองสามารถเปลี่ยนเป็นอะไรก็ได้แล้วแต่เราเลย จากนั้นกด Enter

composer create-project laravel/laravel example-app

ก็จะทำการดาวน์โหลดไฟล์แพ็คเกจต่างๆ

หลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว ให้เปิดโปรแกรม VS Code แล้วลากโฟลเดอร์โปรเจคของเราใส่ไปได้เลย

จากนั้นให้ไปที่ Terminal > New Terminal

พิมพ์คำสั่งตามนี้เลย เพื่อรันโปรเจคของเรา

php artisan serve

คัดลอก URL นี้ไปเปิดที่เบราว์เซอร์ (http://127.0.0.1:8000)

ก็จะเจอกับหน้าแรกของโปรเจค Laravel ของเรา

ในหน้าต่าง Terminal ให้พิมพ์คำสั่งตามนี้เพื่อสร้างคีย์ความปลอดภัย

php artisan key:generate --ansi

ขั้นตอนถัดไปเราจะให้เจ้า Laravel สร้างหน้า login กับหน้า register ให้เราแบบอัตโนมัติ โดยพิมพ์คำสั่งตามนี้เลย

composer require laravel/ui

จากนั้นตามด้วยคำสั่งนี้

php artisan ui vue --auth

อีกคำสั่งที่พลาดไม่ได้

npm install

ปิดท้ายด้วยคำสั่งนี้

npm run dev

กลับไปที่เบราว์เซอร์ของเรา ลองรีเฟรชดูก็จะพบเมนูเพิ่มเข้ามา 2 อันคือ Login กับ Register อยู่ตรงมุมขวา

ลองกดเข้าไปดูได้ แต่ยังไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้นะ เพราะว่าเรายังไม่ได้เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลเลย

ในขั้นตอนนี้ เรามาลองเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลกันหน่อยดีกว่า แต่เป็นฐานข้อมูลในเครื่องเรานะ ใช้ XAMPP ในการจำลองฐานข้อมูล ถ้าใครมีแล้วก็กด Start All ได้เลย แต่ถ้าใครยังไม่มี สามารถดาวน์โหลดได้จากลิงค์นี้เลย https://www.apachefriends.org/download.html

สร้างฐานข้อมูลขึ้นมาใหม่ โดยในตัวอย่างนี้ขอใช้ชื่อว่า example_db

ไปที่ไฟล์ .env แล้วใส่ชื่อฐานข้อมูลของเรา

พิมพ์คำสั่งนี้เพื่อสร้างตารางในฐานข้อมูล

php artisan migrate

เย้!! มีตารางเพิ่มเข้ามาในฐานข้อมูลเราแล้ว

ทีนี้ก็กลับไปที่เบราว์เซอร์ของเรา ไปที่หน้า Register เพื่อทำการกรอกข้อมูล เพื่อดูว่าข้อมูลที่เราสมัคร จะบันทึกเข้าฐานข้อมูลหรือไม่

หลังจากกดปุ่ม Register แล้ว ระบบก็จะพาเรามาที่หน้านี้

ในฐานข้อมูลของเราก็มีข้อมูลเพิ่มเข้ามาแล้ว

นตอนนี้เราก็ได้ระบบที่มีหน้า Login หน้า Register และหน้า Home แล้ว

ในบทความต่อไปจะสอนสร้างหน้าเว็บเพิ่มเติม เช่น หน้า About,Contact หรือน่ารัก อร้ายยยย~~~~

Nidkoma

ชื่นชอบในการเขียนบทความ และการหาความรู้ในด้านต่างๆ ชอบถ่ายรูป ถ่ายวิดีโอ ชอบฟัง แต่ไม่ชอบพูดมั้ง ?? ^ ^
Back to top button